วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วิวัฒนาการของวิชา รัฐประศาสนศาตร์

ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง

วูดโรว์ วิลสัน ได้เขียนบทความชื่อ THE Study of Administration เเนวคิดของวิลสัน สามารถนำมาสรุปดังนี้

1. การบริหานควรถูกเเยกออกจากการเมือง
2. การสนับสนุนให้มีการปฎิรูประบบการบริหารงานบุคคล โดยให้เเยกข้าราชการประจำออกจากข้าราชการเมือง
3. การเพิ่มอำนาจฝ่ายบริหารให้สามารถค้านอำนาจของฝ่ายการเมือง

เเนวคิดการเเยกการบริหารออกจากการเมืองเป็นเหตุผลสำคัญให้มีการศึกษาหัลกเเละเทคนิคการบริหารเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ ซึงในช่วงเดียวกันได้เกิดนักวิชาการหลายคน นักวิชาการท่สำคัญได้เเก่ เฟรดเดอริค เทย์เลอร์ ( Frederick Taylor ) เขียนบทความชื่อ The Principles of Scientific Management ได้พัฒนาวิธีการใหม่ของการจัดการโรงงานในภาคเอกชน ต่อมา เฮนรี เฟโยล์ (Henri Fayol ) ได้เผยเเพร่หลักการบริหาร 14 ประการ
เเนวคิดการเเยกการเมืองออกจากการบริหาร ได้ไปสอดคล้องกับเเนวคิดของ เเมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber ) ได้เสนอเเนวความคิดเกี่ยวกับองค์การขนาดใหญ่ที่มีรูปเเบบ ( bureaucracy ) หรือที่เรียกว่า การจัดองค์การเเบบระบบราชการ

ในช่วงเวลานี้ ทฤษฎีของเวเบอร์ ถูกโต้เเย้ง ในยุคเดียวกันนี้เองที่เเม้เเต่หลักการวิทยาศาสตร์ชองเทเลอร์ ก็ถูกโจมตีจากกลุ่มเเนวคิดด้านมนุษยสัมพันธ์ นักคิดกลุ่มนี้เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1927 เมื่อ เอลตัน เมโย ( Elton Mayo ) ได้ทำการศึกษาที่โรงงานเเห่งหนึ่งของ Western Elctric Company ในเมืองฮอว์ธอร์น เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของสภาพเเวดล้อมกับประสิทธิภาพการทำงานของคนงาน จึงเรียกการค้นพบนี้ว่า การทดลองที่ฮอว์ธอร์น ต่อมาในปี ค.ศ. 1954 อับราฮัม มาสโลว์ ( Abraham Maslow ) ได้เสนอ ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ

ในปี ค.ศ. 1959 ดัสลาส เเม็คเกรเกอร์ ( Douglas McGregor ) นำเสนอ Theory x-Theory Y

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น