วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กลอนไหว้ครู


คำว่าครูคำนี้มีความหมาย
ล้วนหลากหลายคำพูดจะกล่าวถึง
คือผู้ให้ทรัพย์วิชาน่าคำนึง
คือผู้ซึ่งอบรมให้ศิษย์ดี
อีกครูนี้เหมือนพ่อเเม่คนที่สอง
ครูจึงต้องอดทนต่อหน้าที่
เพียรสั่งสอนส่งเสริมศิษย์มากมี
เรือจ้างนี้น้ำใจงามนามว่าครู

กลอนไหว้ครู


ไหว้ครูผู้ผ่านงานเเสนหนัก
ให้ความรักเอ็นดูชูศักดิ์ศรี
สั่งสอนศิษย์ติดตามมอบความดี
อุทิศพลีเพื่อเด้กผู้เล็กเยาว์
ดั่งเเสงเทียนส่องใจให้สว่าง
ดั่งเรือจ้างเเจ๋วลากพ้นจากเขลา
ดั่งเเม่พิมพ์อิ่มหอมช่อยกล่อมเกลา
ดั่งร่มเงาพฤกษ์ไพรให้ความเย็น


กลอนไหว้ครู


ครูทุกท่านรักศิษย์เหมือนดั่งลูก
สัมพันธ์ผุกสั่งสอนให้เติบใหญ่
ทั้งนอกกาย วาจา เเละจิตใจ
มุ่งสู้ไปเพื่อศิษย์นั้นได้ดี
จากวันนั้นถึงวันนี้ศิษย์มาหา
ศิษย์ขอมากราบขอบคุรครูที่นี่
ศิษย์ไม่รู้ว่าผ่านไปกี่ปี
เเต่ศิษย์นี้จากรักครูเหมือนดั้งเดิม

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สายเสมอ

"ตื่นสาย" เป็นปัญหาเด่นและสำคัญของวัยรุ่น เพราะส่วนใหญ่จะใช้เวลาไปกับการพบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูงมากกว่า จึงไม่มีเวลาที่จะจัดระเบียบตัวเอง แม้แต่ข้าวของค่อนข้างจะรกไปด้วยซ้ำ เวลาส่วนใหญ่ในตอนเช้าที่ค่อนข้างตื่นสาย มาเรียนสายอย่บ่อยๆ
แต่เมื่อได้มาเรียน รปศ. ก็ได้นำเรื่องที่เรียนมาเป็นแนวทางในการใช้ชีวิตประจำวัน โดยนำหลักการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ของเฟรดเดอริค เทย์เลอร์ ตามหลัก time&motion และ one best way โดยเริ่มจากการสร้างตารางเวลาการใช้ชีวิตในแต่ละวัน และจัดข้าวของต่างๆให้เป็นที่เป็นทาง หาง่ายและหยิบใช้สะดวก หลังจากจัดการทุกอย่างเรียบร้อย ก็เริ่มปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเหมือนเดิม ก็ปรากฏว่ามันดีขึ้นจริงๆ ประหยัดเวลาได้เยอะเลยทีเดียว ทุกวันนี้ก็ไม่ไปเรียนสายอีกแล้ว
การจัดระเบียบตัวเองเป็นสิ่งที่ดีที่สุดเลยค่ะ จากหลักการของเฟรดเดอริค เทย์เลอร์ ยังทำให้ดิฉันไม่ต้องวิ่งหาข้าวของหรือทำโน่นทำนี่ให้ยุ่งเหมือนทุกเช้าอีกแล้ว เพราะทุกอย่างมันเรียบร้อยแล้ว

วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กลอนวันไหว้ครู


ครูประศาสตร์วิชาศาสตร์ความรู้ เเละเป็นผู้สอนศิษย์ให้ศึกษา
ปกป้องศิษย์ให้ห่างอวิชา คอยนำพาศิษย์ไปในทางดี
คอยสอนสั่งให้ทำในสิ่งถูก ทั้งปลูกฝังให้รักในศักดิ์ศรี
ทั้งบอกศิษย์ให้มีมิตรไมตรี เป็นคนดีที่สังคมนั้นต้องการ

วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กลอนไหว้ครู


ทุกคนล้วนเป็นศิษย์มีอาจารย์ พยาบาลอัยการหรือหมอจิต

ทั้งนักเรียนนักข่าวนักธุรกิจ ล้วนเป็นศิษย์มีครูเป็นผู้สอน

ครูสอนศิษย์ให้เพียรอ่านหนังสือ ครูฝึกปรือให้นักเรียนเขียนอักษร

ให้วิชาเหมือนพระที่ให้พร ที่เเน่นอนครูสอนให้ทำดี

วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

โรงงานท้อผ้าไหม


โรงงานทอผ้าไหมเเห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ เขามีลูกน้องจำนวนมาก มีช่วงระยะเวลาทำงานตั้งเเต่ 08.00-17.00 ของทุกวัน ไม่มีวันหยุดนอกจากวันสำคัญ เเต่สำหรับพนักงานก็มีวันหยุดสลับกันไป การทำงานของพนักงานท้อผ้าไหมของที่นี้นั้น คือ ท้อผ้าไหมให้มีความสวยงาม ความคิดสร้างสรรค์ให้มากที่สุด เจ้าของโรงงานจะคิดเงินให้ตามจำนวนเเละความสวยงามของผ้าไหมของทุกตอนเย็น เวลา 17.00 น. ของทุกวัน ทำให้การทำงานมีระบบระเบียบมากขึ้น เเล้วยังทำให้พนักงานที่นั้นเป็นคนขยันเเมความคิดสร้างสสรค์อีกด้วย เมื่อมีการจ่ายเงินให้พนักงานตามจำนวนชิ้นที่ทำได้ ทำให้พนักงานเกิดการกระตุ้นการทำงานให้ได้มากขึ้น เเลกกับค่าจ้าง ตามหลักการของ เฟรดเดอริค เทย์เลอร์ ( piece rate system )

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เพิ่งรู้ว่า เวลามีค่าทุกวินาที (Time & motion)



กระผมเป็นคนนึงที่ชอบมาเรียนสาย เนื่องจากภาระกิจที่ต้องทำตั้งแต่ตื่นนอนนั้นมันมากและวุ่นวายเหลือเกินครับ ผมเป็นคนไม่มีระเบียบเอาซะเลย ที่บ้านผม โดยเฉพาะห้องนอนนั้น รกมากกกถึงมากที่สุดวางของไม่เคยเป็นที่เป็นทาง ทำให้ในแต่ละวันผมต้องมาเสียเวลากับการจัด การหาของที่ต้องใช้ให้วุ่น
ผมก็เป็นอีกคนที่ได้เรียน รปศ ผมจึงคิดว่า เรื่องที่ผมเรียนน่าจะนำมาปรับให้เข้ากับชีวิตประจำวันของผมได้ หลักการการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ของ เทย์เลอร์ ก็เป็นเรื่องที่ผมได้เรียนเหมือนกัน และเห็นว่าเนื้อหาที่เรียนสามารถนำมาใช้ได้จริง ผมได้นำหลัก(Time & Motion)ของเทย์เลอร์ มาลองใช้ดูโดย เริ่มจากจัดข้าวของให้เป็นที่เป็นทาง หาง่าย และหยิบจับสะดวก หลังจากจัดการเรียบร้อยก็เริ่มปฏิบัติภาระกิจประจำวันเหมือนเดิม แต่ปรากฎว่า มันทำได้เร็วขึ้น เสียเวลาน้อยลง และ มีการเคลื่อนไหวร่างกายที่น้อยลง จากแต่ก่อนเดินไปทางโน้นทีทางนี้ทีขาเหมือนจะพันกัน แต่ตอนนี้ไม่เป็นแบบนั้น ผมสามารถทำให้มันเป็นขั้นเป็นตอนได้ โดยไม่เสียเวลา และ เสียแรงในการเคลื่อนไหวอีกต่อไป อีกอย่างเมื่อทำภาระกิจต่างๆเสร็จ ผมยังมีเวลาเหลือให้พักผ่อนดู ทีวี เสียด้วยซ้ำ และที่สำคัญ ผมไปเรียนได้ทันเวลาไม่สายอีกแล้วครับ

เวลาทุกวินาทีมีค่า ดังนั้น ถ้าเรารู้จักใช้เวลาให้คุ้มค่า มันก็จะเกิดผลดีกับตัวเรา ซึ่งมันก็เข้ากับหลักการของเทย์เลอร์ เราไม่ต้องรีบทำโน่นทำนี่ให้เสียแรง เราควรจัดให้มันเป็นระบบระเบียบเสียก่อนมันจึงจะปฏิบัติได้ราบรื่นและไม่เหนื่อยอีกต่างหากครับ

งานเย็บกระเป๋าผ้า กับหลักการ (piece rate system)




กลุ่มงานเย็บกระเป๋าผ้าส่วนใหญ่จะเป็นพนักงานผู้หญิงทำ เพราะเป็นงานฝีมือ ต้องใช้ความประณีต และความละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก เพื่อให้ได้มาซึ่งความคงทนและมีคุณภาพทุกกระเบียดนิ้ว เมื่อก่อนพนักงานที่ทำงานทั้งหมดจะได้รับค่าตอบแทนเป็นเดือน หรือ เงินเดือนนั่นเอง และแล้วหัวหน้ากลุ่มงานก็ได้เล็งเห็นถึงปัญหา นั่นคือ พนักงานอู้งานบ้าง มาสายบ้าง อ้างโน่นนี่บ้าง จนทำให้แต่ละวันทำงานไม่เต็มที่และได้กระเป๋าไม่กี่ใบไม่พอจำหน่าย หัวหน้ากลุ่มงานคิดว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นก็เนื่องมาจาก ความไม่กระตือรือร้นของพนักงาน พนักงานมีการถูกกระตุ้นน้อย จึงทำให้ผลงานลดปริมาณลง จนทำให้หัวหน้ากลุ่มงานเริ่มคิดหาวิธีที่จะกระตุ้นให้พนักงานขยันขึ้น
เนื่องจากหลานชายของหัวหน้ากลุ่มงานเป็นนักศึกษาเรียนอยู่สาขาวิชา รปศ เขาก็เลยนำหลักการการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ของ เฟรดเดอริค เทย์เลอร์ ที่ได้เรียนมานำเสนอ และ บอกกล่าวอธิบายให้ป้าของเขา ซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มงานเข้าใจ โดยเสนอให้ป้าของเขาแก้ไขปรับปรุงวิธีจ่ายเงินให้พนักงาน จากที่เคยจ่ายเป็นเงินเดือน ก็เปลี่ยนเป็นจ่ายเงินค่าตอบแทนตามชิ้นงานที่ได้เป็นรายชิ้น กระเป๋า 1 ชิ้น ได้ค่าตอบแทนเท่าไหร่ก็ว่ากันไป (piece rate system)

เมื่อหัวหน้ากลุ่มงานได้นำหลักการที่หลานชายเสนอไปใช้จริง ผลออกมาคือพนักงานมีความกระเตื้องมากกว่าเดิม เนื่องจากได้เงินตามจำนวนงานที่ทำได้ ทำให้พนักงานกระตือรือร้นที่จะทำกระเป๋าให้มากขึ้น เพราะค่าตอบแทนที่ได้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง เพราะฉะนั้น หลักการการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ของ เฟรดเดอริค เทย์เลอร์ สามารถนำมาใช้ได้และเห็นผลที่ดีขึ้นจริง

งานเย็บกระเป๋าผ้า กับหลักการ (piece rate system)

วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ขายขนมจีน ตามหลัก(time&motion)และ(one best way)ของเทย์เลอร์




ร้านขายขนนจีนป้าแดง เป็นร้านที่เมื่อก่อนขายไม่ค่อยจะดีนักเพราะลูกค้ามักติว่าป้าแดงทำงานล่าช้า เนื่องจากแกจัดข้าวของไม่เป็นระบบระเบียบ จึงทำให้แกหยิบจับของไม่สะดวกเท่าที่ควร การที่ข้าพเจ้าได้เรียน รปศ.ในเรื่องของหลักการการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ซึ่ง เฟรดเดอริค เทย์เลอร์ เป็นผู้คิดค้นนั้นทำให้ข้าพเจ้าคิดว่า หลักการของเทย์เลอร์สามารถนำมาปรับใช้กับการขายขนมจีนของป้าแดงได้แน่นอน
แนวคิดของเทย์เลอร์คือหลักการการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยใช้เวลาและการเคลื่อนไหวร่างกายให้ถูกต้องและรวดเร็วที่สุด กรณีของป้าแดง ถ้าป้าแดงนำหลักการนี้มาใช้ก็จะทำให้การทำงานของป้าแดงมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ถ้าป้าแดงปรับเปลี่ยนวิธีการวางข้าวของใหม่ เพื่อที่จะได้หยิบจับง่ายขึ้น สะดวก และ รวดเร็วยิ่งขึ้น และมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง มันก็จะทำให้ไม่เสียเวลาในการขายขนมจีนจากที่ 1 นาที ป้าแดงหยิบขนมจีนได้จานเดียวเนื่องจาก ต้องเคลื่อนไหวร่างกายเอื้อมไปหยิบด้านโน้นทีด้านนี้ทีแต่เมื่อนำหลักการของเทย์เลอร์มาปรับใช้แล้วอาจทำให้ป้าแดงหยิบขนมจีนได้ 2-3จานภายในหนึ่งนาทีก็เป็นได้(time&motion)และการขายขนมจีนของป้าแดงก็จะมีประสิทธิภาพที่สุด(one best way)
เห็นได้ว่าหลักการของเทย์เลอร์สามารถนำมาปรับให้สอดคล้องกับการทำงาน หรือ กิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี และทำให้ทำงานได้โดยใช้เวลาและการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยที่สุดและรวดเร็วที่สุดแต่มีประสิทธิภาพสูงสุด

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วิวัฒนาการของวิชา รัฐประศาสนศาตร์

ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง

วูดโรว์ วิลสัน ได้เขียนบทความชื่อ THE Study of Administration เเนวคิดของวิลสัน สามารถนำมาสรุปดังนี้

1. การบริหานควรถูกเเยกออกจากการเมือง
2. การสนับสนุนให้มีการปฎิรูประบบการบริหารงานบุคคล โดยให้เเยกข้าราชการประจำออกจากข้าราชการเมือง
3. การเพิ่มอำนาจฝ่ายบริหารให้สามารถค้านอำนาจของฝ่ายการเมือง

เเนวคิดการเเยกการบริหารออกจากการเมืองเป็นเหตุผลสำคัญให้มีการศึกษาหัลกเเละเทคนิคการบริหารเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ ซึงในช่วงเดียวกันได้เกิดนักวิชาการหลายคน นักวิชาการท่สำคัญได้เเก่ เฟรดเดอริค เทย์เลอร์ ( Frederick Taylor ) เขียนบทความชื่อ The Principles of Scientific Management ได้พัฒนาวิธีการใหม่ของการจัดการโรงงานในภาคเอกชน ต่อมา เฮนรี เฟโยล์ (Henri Fayol ) ได้เผยเเพร่หลักการบริหาร 14 ประการ
เเนวคิดการเเยกการเมืองออกจากการบริหาร ได้ไปสอดคล้องกับเเนวคิดของ เเมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber ) ได้เสนอเเนวความคิดเกี่ยวกับองค์การขนาดใหญ่ที่มีรูปเเบบ ( bureaucracy ) หรือที่เรียกว่า การจัดองค์การเเบบระบบราชการ

ในช่วงเวลานี้ ทฤษฎีของเวเบอร์ ถูกโต้เเย้ง ในยุคเดียวกันนี้เองที่เเม้เเต่หลักการวิทยาศาสตร์ชองเทเลอร์ ก็ถูกโจมตีจากกลุ่มเเนวคิดด้านมนุษยสัมพันธ์ นักคิดกลุ่มนี้เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1927 เมื่อ เอลตัน เมโย ( Elton Mayo ) ได้ทำการศึกษาที่โรงงานเเห่งหนึ่งของ Western Elctric Company ในเมืองฮอว์ธอร์น เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของสภาพเเวดล้อมกับประสิทธิภาพการทำงานของคนงาน จึงเรียกการค้นพบนี้ว่า การทดลองที่ฮอว์ธอร์น ต่อมาในปี ค.ศ. 1954 อับราฮัม มาสโลว์ ( Abraham Maslow ) ได้เสนอ ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ

ในปี ค.ศ. 1959 ดัสลาส เเม็คเกรเกอร์ ( Douglas McGregor ) นำเสนอ Theory x-Theory Y